วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สื่อการเรียนรู้

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
Photobucket - Video and Image Hosting

AI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา


1room1com.jpg



ฮเปอร์บุ๊ก (Hyperbook)
Photobucket - Video and Image Hosting

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็คือ หนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ(Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น
E-book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายของทั้งการสร้าง E-book ความสะดวกในการพกพา ขนาดที่เล็ก และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่าน E-book ได้ สามารถสร้างให้ E-book นอกจากจะมีสีสันสวยงามเพื่อง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจแล้ว ยังสามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว สร้างสารบัญ (Link) หรือการคลิกเพื่อส่ง E-Mail ไปยังผู้เขียน หรือ E-Mail ใน E-book ก็ได้

ตัวอย่างรูปเล่มโครงงาน

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)


โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

ความหมาย

เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวน และคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้
     โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง 

ตัวอย่าง





โปรแกรม ดนตรีไทยแสนสนุก     
         ผู้พัฒนา นางสาว อัญชลี เตมีประเสริฐกิจ  
         อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ชนารัตน์ คำอ่อน  
         สถานศึกษา โรงเรียนระยองวิทยาคม








 โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ
         ผู้พัฒนา เด็กหญิงวริศรา  พรหมมณี และเด็กหญิงกมลวรรณ  ทองงาน  
         อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ทัศนีย์  ระลึกมูล  
         สถานศึกษา โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จ.พิษณุโลก








วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

______________________________________________________________________

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 


ความหมายของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ใดๆ หรืออุปกรณ์มือถือ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการต่างๆในอินเทอร์เน็ตได้ (เช่นอีเมลและเวิลด์ไวด์เว็บ) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider, ISP) เสนอการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนทั่วไปผ่านทางเทคโนโลยีต่างๆที่มีความหลากหลายของอัตราการส่งสัญญาณข้อมูล (ความเร็ว)
ผู้บริโภคใช้งานอินเทอร์เน็ต, ในช่วงต้นก่อนที่จะกลายเป็นที่นิยม, ผ่านทางโทรฯเข้า (dial-up) ซึ่งเป็นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในทศวรรษที่ 1980 และ 1990. ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ผู้บริโภคจำนวนมากใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบบบรอดแบนด์ทำให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้เร็วขึ้น


ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต


1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต

2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites)
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

New Technology


8 USB-Powered Butt Cooler (เครื่องเย็นก้น)

_____________________________________________________________

     นี่เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สุดแปลกของญี่ปุ่น เจ้าเครื่องทำความเย็นแบบ USB นี้ ใช้สำหรับให้ความเย็นกับก้นของคุณที่ต้องนั่งติดอยู่กับ เก้าอี้ตลอดเวลา วิธีการทำงานของมันก็แค่เป่าอากาศเย็นไปที่ก้นด้วยพัดลมขนาดเล็กที่ฝังติดกับเครื่อง โดยใช้พลังงานจากคอมพิวเตอร์ ผ่านทางสาย USB

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Application เพื่อการศึกษา

MyScript© Calculator
________________________________________
MyScript Calculator.jpg

ความสามารถของ MyScript Calculator

  • คิดเลข ด้วยลายมือของคุณ หรือปากกา Stylus ต่างๆ
  • ทำงานได้กับปากกา S-Pen ของ Galaxy Note หรือแท็บเล็ตยี่ห้ออื่นๆ
  • รองรับกับลายมือของคุณ รวมถึงสูตรคณิตศาสตร์ต่างๆ
  • ไม่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดอีกต่อไป เมื่อคุณใช้แอพ เครื่องคิดเลข นี้
  • คิดเลข ได้ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง
  • มีฟังก์ชั่น Redo และ Undo ภายในแอพ เครื่องคิดเลข
  • App เครื่องคิดเลข (MyScript Calculator) รองรับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
    • สัญลักษณ์ทั่วไป เช่น +, -, x, ÷, +/‒, 1/x
    • Misc. Operations: %, √, x!, |x|
    • วงเล็บ ( )
    • ตรีโกณมิติ cos, sin, tan, acos, asin, atan
    • ลอการิทึม ln , log
    • ค่าคงที่ π, ℯ, Phi

ที่มา : http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/IPad_App

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อการสนับสนุนการประชุมกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องของการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้น องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป้นไปด้วยดี
ดังนั้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ร่วมตัดสินใจได้ เพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ และใช้งานร่วมกันได้



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล

หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล สารสนเทศ ทั้งภายในและนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น 

  • การกำหนดนโยบาย 
  • การวางแผน
  • การจัดตั้งงบประมาณ

____________________________________________________________________

ความแตกต่างระหว่าง EIS กับ GDSS


       ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
          ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี



---------------------------------------
อ้างอิง :

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ 

 ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง 

ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร


กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศในชีวิตประจำวัน


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน




ประเภทของระบบสารสนเทศ

1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

ชื่อระบบสารสนเทศ :  ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน
ลักษณะควบคุมวัสดุของหน่วยงาน
การใช้ระบบสารสนเทศแต่ละประเภท สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  
แหล่งค้นข้อมูล : http://blog.eduzones.com/dena/4892
_______________________________________________________
2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

ชื่อระบบสารสนเทศ : ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ
ลักษณะ : สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล
การใช้ระบบสารสนเทศแต่ละประเภท ควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
แหล่งค้นข้อมูลhttp://blog.eduzones.com/dena/4892
_______________________________________________________

3.      ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

ชื่อระบบสารสนเทศ : ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ลักษณะ : ตรวจสอบข้อมูล
การใช้ระบบสารสนเทศแต่ละประเภท : ตรวจสอบ  การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
แหล่งค้นข้อมูล : http://blog.eduzones.com/dena/4892


วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่ม
และองค์การต่างๆ



 Decision Support System (DSS) is a computer-based information system that supports business or organizational decision-making activities. DSSs serve the management, operations, and planning levels of an organization (usually mid and higher management) and help to make decisions, which may be rapidly changing and not easily specified in advance (Unstructured and Semi-Structured decision problems). Decision support systems can be either fully computerized, human or a combination of both.
While academics have perceived DSS as a tool to support decision making process, DSS users see DSS as a tool to facilitate organizational processes. Some authors have extended the definition of DSS to include any system that might support decision making. Sprague (1980) defines DSS by its characteristics:
  1. DSS tends to be aimed at the less well structured, underspecified problem that upper levelmanagers typically face;
  2. DSS attempts to combine the use of models or analytic techniques with traditional data access and retrieval functions;
  3. DSS specifically focuses on features which make them easy to use by noncomputer people in an interactive mode; and
  4. DSS emphasizes flexibility and adaptability to accommodate changes in the environment and the decision making approach of the user.